วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

“มาดอนน่า คอนเฟริม สีทอง โคตรอิน iPhone 5S gold ไม่รอด เตรียมต่อคิวได้เลย!!”

ไอโฟนสีทอง

ไอโฟนสีทอง หาใช่ความบังเอิญ หรือแตกแถวของเฉดสี ที่แบรนด์อินดี้ตัวแม่แห่งวงการ อยากจะสร้างความต่างในตลาดแก็ตเจ็ต หากแต่นี่เป็นการรีเซิชอย่างละเมียดมาแล้วต่างหากว่า “สีทอง” กำลังมาแน่นอนคอนเฟริม!!

หลังพาเหล่าแฟชั่นนิสต้า เดินข้ามเวลามาตั้งแต่ยุค 80 มาถึงสหัสวรรษนี้ เหล่าเซเลบริตี้ และกระแสฮิพฮอพเทรนด์ ก็ได้กลืนเข้าสู่เมนสตรีมอย่างช้าๆ ซึ่งมาทั้งจิตวิญญาณที่ดิบสุดขั้วผ่าหมากด้วยลุคส์ไฮโซ มิลลิเนี่ยมเทรนด์สุดเก๋


ตั้งแต่เครื่องประดับทอง หมวก กางเกงฮิพ และเทรนด์ล่าสุดจากป้ามาดอนน่า ป๊อบซิมโบลแห่งวงการ ที่พาฟันสีทองอร่ามมาเดินอวด แค่นี้ก็มองออกแล้วว่าหลัง iPhone 5S gold สีทองแชมเปญ วางตลาดจะได้รับความสนใจขนาดไหน

ก็นี่ไม่ใช่ศึกโทรศัพท์ฟีเจอร์กะโหลกกะลา ที่ต้องสอดคล้องไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้อีกต่อไป แต่มันคือศึกแฟชั่นเทรนด์ การตลาด ที่มือใครยาวสาวได้สาวกันไป มาชมภาพเต็มๆ จาก Martin Harjek เจ้าพ่อแอปเปิลคอนเซ็ปต์กันเลยดีกว่า!!
 iphone5S_2-640x480



วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์  
  ปัจุบันในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลได้อย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเกี่ยวกับการเรียน ข่าวสถานการณ์ต่างๆ ความบันเทิง กีฬา และอื่นๆอีกมากมาย การใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาหาข้อมูลถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะอินเทอร์เน็ตก็เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ขนาดหนึ่งที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆเเละที่สำคัญ ปัจจุบันอินเทอร์ก็นำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารเนื่องจารกสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์ต่อการศึกษาหรือการทำงานหลายๆหน่วยคณะ เช่น 
ช้ในการประการเรียนการสอน
   +ถ้าเราต้องค้นหาข้อมูลบ้างงานเราก็สามารถเค้าอินเทอร์เน็ตเพื่อศีกษาได้เลย ทำให้ได้ข้อมูลที่แม้นยำ เเละใช้เวลาน้อยในการทำงาน เช่น การหาการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคา 
   +ใช้ส่งงานคุณครูหรืออาจารย์ผู้สอนในวิชานั้นๆโดยไม่จำเป็นต้องจัดทำรายงานขึ้นมา เเละที่สำคัญจะไม่เกิดการขโมยงานของเพื่อนเพราะเราสามารถเก็บข้อมูลง่ายที่เราได้นั้นไว้ไพล์ของเราเเล้ว การส่งงานทางอินเทอร์เน็ตไม่ลำบากในการส่ง สะดวกมาก
ใช้ในความบันเทิง
   +สามารถดูละคร รายการโทรทัศน์ย้อนหลัง หรือดูสารคดี เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายเเละรวดเร็ว
ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
   +เอาไว้ติดต่อเรื่องงานหรือธุระอะไรก็ได้ เเต่เป็นการติดต่อทางอินเทอร์เน็ต เช่น Facebook Line และอื่นๆอีกมายมาย การสื่อสารทางนี้รวดเร็วเเละ สามารถติดต่อได้ที่ละหลายๆคนโดยไม่เสียเงิน จึงทำให้มีประชากรหลายหมู่คณะใช้เส้นทางนี้ในการติดต่อสื่อสาร
   +ดูข่าวกีฬา ข้อนักการเมือง ข่าวต่างประเทศ หรือข่าวต่างๆ อินเทอร์เน็ตจะทำการส่งข้อมูลมาอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นข่าวอะไร จึงทำให้สะดวก
ใช้ในการประกอบอาชีพ
   +สำนักงาน ก็จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการประกอบอาชีพ เพราะว่าอาจจะมีการทำบัญชีเข้า-ออก ของการขายสินค้าหรือการขขนส่ง 
   +โปรแกรมเมอร์ ก็เเน่นอนอยู่เเล้วจำเป็นมาในการใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงานของเเต่ละวัน


           ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตก็มีโทษหลากหลายรูปแบบที่มีผลต่อบุคคลสาธารณะเเละสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การโฟสต์สถานะอันไม่สมครวอย่างยิ่งที่จะออกสื่อสาธารณะ จึงทำให้เกิดการแพร่กระจายข้อมูลที่ไม่เหมาะสมนั้นไปได้อย่างรวดเร็ว การปล่อยภาพหลุดที่ทำให้ผู้อื่นถึงแกความอับอาย หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่าการประนามการกระทำเช่นนี้ไม่เหมาะสมที่จะนำมาเผยเเพร่ต่อกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต นอกจากนี้บ้างเว็ปก็ถูกสร้างมาเพื่อให้เด็กหรือบุคคลอื่นเค้าไปดูเรื่องที่ไม่ครวดู เช่น คลิปโป๊ อนาจาณ หรือ การแบล๊คเม บุคลอื่น

   

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

  เครือข่ายคอมพิวเตอร์
          การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ
http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.gif
ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้

ความหมายของระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image002.jpg
รูปแสดงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifคอมพิวเตอร์แม่ข่าย

คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า
Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifช่องทางการสื่อสาร

ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image004.jpg
รูปแสดงช่องทางการสื่อสารโดยใช้จานรับดาวเทียม

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifสถานีงาน

สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifอุปกรณ์ในเครือข่าย

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/broker_bullet.gifการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image006.jpg
รูปแสดงการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย
                                                        องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/broker_bullet.gifโมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image008.jpg
รูปแสดงการใช้โมเด็มในการติดต่อเครือข่ายระยะไกล

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/broker_bullet.gifฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/010.jpg
แสดงฮับที่ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อและจุดแยกของสาย

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/312.jpg
แสดงซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย






โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPOLOGY)
        การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไปโดยทึ่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้

        1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)
        
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/bus_topology.jpg
        2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
        
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/ring_topology.jpg
        3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
        
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/STAR.JPG





แนะนำตัว


แนะนำตัว

 ชื่อ ณัฐนิชา  จินตทิพย์วรรณ

 ชื่อเล่น มิ้นท์
 ชอบ สีเขียว
 กิจกรรมยามว่าง ฟังเพลง ดูการ์ตูน
 วิชาที่ชอบ นาฏศิลป์
 วิชาที่ไม่ชอบ คณิตศาสตร์
 สถานที่ที่ชอบ วัด
 อาชีพที่ใฝ่ฝัน คนออกแบบท่ารำ

นิสัยส่วนตัว     : อะไรก็ได้แต่จะไม่ค่อยพูดอะไรก่อน มองโลกในเเง่ดี
ติดต่อได้ทาง   : facebook : Pukkamint Print(ปุกก้ามิ้นท์)
                          Line         : Pukkamint
                          IG            :Pukkamint

ระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีเพื่อการตัดสินใจ

ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ


1. ระบบสารสนเทศ
    ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ระบบที่สามารถจัดการข้อมูลตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล รวมถึงการดูแลรักษาข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องและทันต่อความต้องการใช้ของผู้ใช้ และผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ



    1.1 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
         องค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่สำคัญมี 5 องค์ประกอบดังนี้
        
           1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 
            ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 3 หน่วย คือ
      -หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
      -หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
      -หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์

         2. ซอฟต์แวร์ (Software)
          ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
           1.ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ ประมวลผลข้อมูล แสดงผลทางจอภาพ เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ โปรแกรมแปลภาษาและโปรแกรมอรรถประโยชน์
          2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ ซอฟต์แวร์ตารางงาน ซอฟต์แวร์ด้านกราฟิก เป็นต้น

         3. ข้อมูล (Data)
             ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพข้อมูลที่ดีซึ่งเหมาะแก่การนำไปใช้งานจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
     ♥ ถูกต้องและสมเหตุสมผล
     ♥ ทันสมัย
     ♥ สมบูรณ์
     ♥ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
     ♥ สามารถพิสูจน์ได้

         4. บุคลากร (People)
             บุคลากร คือผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศตั้งแต่การพัฒนาระบบจนกระทั่งการใช้งานและการบำรุงรักษา ซึ่งบุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ต้องมีความรู้ความสามรถในการใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีคุณภาพ 


         5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure)
           ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน


    1.2 ชนิดของระบบสารสนเทศ
องค์กรส่วนใหญ่จะใช้ระบบสารสนเทศในการทำงาน โดยแต่ละองค์กรจะเลือกใช้ระบบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งระบบสารสนเทศแบ่งเป็น5ชนิด ดังนี้



         1. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System : OIS)
หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติเป็นระบบที่ใช้ในการผลิตสารสนเทศของสำนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ แลัเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรสาร เป็นต้น รวมถึง ซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลคำ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์เสียง ระบบประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น

         2. ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการ (Transaction Processing System : TPS)
หรือระบบประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing : EDP) เป็นระบบสารสนเทศที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้บันทึกข้อมูลรายการที่เกิดขึ้นประจำวันของส่วนใดส่วนหนึ่งของธุรกิจนั้นๆ ซึ่งข้อมูลรายการที่เกิดขึ้นประจำวันดังกล่าวจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการนำไปประมวลผลเป็นสารสนเทศสำคัญของระบบสารสนเทศอื่นๆ 

         3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS)
เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลรายการที่เกิดขึ้นประจำวันจากระบบสารสนเทศประมวลผลรายการจากแผนกต่างๆ มาสรุปเป็นรายงานสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการ ได้แก่ การควบคุมหรือตรวจสอบการดำเนินงาน การวางแผน และการตัดสินใจดำเนินงาน 

         4. ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาความสามารถเพื่อมเติมจากระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโดยจะสนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน ซึ่งจะให้ระบบจะใช้ตัวแบบ (model) ในการวางแผน ทำนาย และสรุปทางเลือกสำหรับการตัดสินใจได้หลายๆทาง สำหรับผู้บริหารตัดสินใจได้สะดวกรวดเร็ว โดยผู้บริหารต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ระบบเสนอแนะมาด้วยตนเอง

         5. ระบบสารสนเทศสนับสนุนผู้บริหาร (Executive Information System : EIS)
เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นเพื่อการสนับสนุนสารทนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยระบบจะประมวลผลสารสนเทศให้ผู้บริหารมองเห็นภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทประกอบกับผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่มีข้อจำกัดด้วนระบบเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล ดังนั้นส่วนใหญ่สารสนเทศจะอยู่ในรูปแบบของกราฟฟิกที่ดูเข้าใจง่าย เช่น กราฟ ตาราง ภาพ สามมิติ เป็นต้น รวมทั้งการนำเสนอสารสนเทศขององค์กรโดยสรุป และสามารถเรียกดูลึกเข้าไปในรายละเอียดที่ต้องการได้ ซึ่งระบบสารสนเทศสนับสนุนผู้บริหารจำเป็นต้องใช้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร 




2. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
    โดยระดับของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในองค์กรมีอยู่ 3 ระดับ ดังนี้
  
    2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินของบุคคล

       1. ระบบสารสนเทศสำนักงาน เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและเครื่องใช้สำนักงาน เช่น Microsoft word พิมพ์เอกสาร Microsoft power point นำเสนองาน เป็นต้น
       2. ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการ เพื่อบันทึกข้อมูลประจำวัน เช่น ใช้ซอฟต์แวร์การขายสินค้าในการบันทึก ปรับปรุง ลบ และค้นหารายการสินค้า ซึ่งช่วยให้การทำงานสะดวกและรวดเร็วขึ้น เป็นต้น

    2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของกลุ่ม
เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สมารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีหลักการ คือ การนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระยะใกล้ หรือระยะไกล ทำให้มีการใช้ทรัพยากร ในระบบเครือข่ายร่วมกันได้

    2.3 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจขององค์กร
เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเชื่อมโยงระบบวสรสนเทศของแผนกต่างๆ ในองค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อส่งผ่านข้อมูลจากแผนกหนึ่งไปยังแผนกหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการบริหารงานของผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อประกอบการตัดสินใจ 
หลักการ คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ของแผนกต่างๆ มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน เช่น แผนกการตลาด แผนกการผลิต แผนกจัดซื้อ แผนกบุคคล แผนกการเงินและบัญชีเป็นต้น



สรุป 
ระบบสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น องค์กรต่างๆใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ประมวลผลข้อมูล รวมถึงการดูแลรักษาข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องและทันต่อความต้องการของผู้ใช้ และผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแต่ละองค์กรจะเลือกใช้ระบบสารสนเทศใดนั้นจะต้องคำนึงถึงความต้องการใช้งาน ความเหมาะสมกับธุรกิจ รวมถึงต้นทุนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ