วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์  
  ปัจุบันในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลได้อย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเกี่ยวกับการเรียน ข่าวสถานการณ์ต่างๆ ความบันเทิง กีฬา และอื่นๆอีกมากมาย การใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาหาข้อมูลถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะอินเทอร์เน็ตก็เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ขนาดหนึ่งที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆเเละที่สำคัญ ปัจจุบันอินเทอร์ก็นำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารเนื่องจารกสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์ต่อการศึกษาหรือการทำงานหลายๆหน่วยคณะ เช่น 
ช้ในการประการเรียนการสอน
   +ถ้าเราต้องค้นหาข้อมูลบ้างงานเราก็สามารถเค้าอินเทอร์เน็ตเพื่อศีกษาได้เลย ทำให้ได้ข้อมูลที่แม้นยำ เเละใช้เวลาน้อยในการทำงาน เช่น การหาการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคา 
   +ใช้ส่งงานคุณครูหรืออาจารย์ผู้สอนในวิชานั้นๆโดยไม่จำเป็นต้องจัดทำรายงานขึ้นมา เเละที่สำคัญจะไม่เกิดการขโมยงานของเพื่อนเพราะเราสามารถเก็บข้อมูลง่ายที่เราได้นั้นไว้ไพล์ของเราเเล้ว การส่งงานทางอินเทอร์เน็ตไม่ลำบากในการส่ง สะดวกมาก
ใช้ในความบันเทิง
   +สามารถดูละคร รายการโทรทัศน์ย้อนหลัง หรือดูสารคดี เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายเเละรวดเร็ว
ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
   +เอาไว้ติดต่อเรื่องงานหรือธุระอะไรก็ได้ เเต่เป็นการติดต่อทางอินเทอร์เน็ต เช่น Facebook Line และอื่นๆอีกมายมาย การสื่อสารทางนี้รวดเร็วเเละ สามารถติดต่อได้ที่ละหลายๆคนโดยไม่เสียเงิน จึงทำให้มีประชากรหลายหมู่คณะใช้เส้นทางนี้ในการติดต่อสื่อสาร
   +ดูข่าวกีฬา ข้อนักการเมือง ข่าวต่างประเทศ หรือข่าวต่างๆ อินเทอร์เน็ตจะทำการส่งข้อมูลมาอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นข่าวอะไร จึงทำให้สะดวก
ใช้ในการประกอบอาชีพ
   +สำนักงาน ก็จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการประกอบอาชีพ เพราะว่าอาจจะมีการทำบัญชีเข้า-ออก ของการขายสินค้าหรือการขขนส่ง 
   +โปรแกรมเมอร์ ก็เเน่นอนอยู่เเล้วจำเป็นมาในการใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงานของเเต่ละวัน


           ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตก็มีโทษหลากหลายรูปแบบที่มีผลต่อบุคคลสาธารณะเเละสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การโฟสต์สถานะอันไม่สมครวอย่างยิ่งที่จะออกสื่อสาธารณะ จึงทำให้เกิดการแพร่กระจายข้อมูลที่ไม่เหมาะสมนั้นไปได้อย่างรวดเร็ว การปล่อยภาพหลุดที่ทำให้ผู้อื่นถึงแกความอับอาย หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่าการประนามการกระทำเช่นนี้ไม่เหมาะสมที่จะนำมาเผยเเพร่ต่อกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต นอกจากนี้บ้างเว็ปก็ถูกสร้างมาเพื่อให้เด็กหรือบุคคลอื่นเค้าไปดูเรื่องที่ไม่ครวดู เช่น คลิปโป๊ อนาจาณ หรือ การแบล๊คเม บุคลอื่น

   

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

  เครือข่ายคอมพิวเตอร์
          การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ
http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.gif
ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้

ความหมายของระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image002.jpg
รูปแสดงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifคอมพิวเตอร์แม่ข่าย

คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า
Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifช่องทางการสื่อสาร

ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image004.jpg
รูปแสดงช่องทางการสื่อสารโดยใช้จานรับดาวเทียม

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifสถานีงาน

สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifอุปกรณ์ในเครือข่าย

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/broker_bullet.gifการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image006.jpg
รูปแสดงการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย
                                                        องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/broker_bullet.gifโมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image008.jpg
รูปแสดงการใช้โมเด็มในการติดต่อเครือข่ายระยะไกล

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/broker_bullet.gifฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/010.jpg
แสดงฮับที่ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อและจุดแยกของสาย

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/312.jpg
แสดงซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย






โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPOLOGY)
        การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไปโดยทึ่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้

        1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)
        
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/bus_topology.jpg
        2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
        
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/ring_topology.jpg
        3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
        
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/STAR.JPG





แนะนำตัว


แนะนำตัว

 ชื่อ ณัฐนิชา  จินตทิพย์วรรณ

 ชื่อเล่น มิ้นท์
 ชอบ สีเขียว
 กิจกรรมยามว่าง ฟังเพลง ดูการ์ตูน
 วิชาที่ชอบ นาฏศิลป์
 วิชาที่ไม่ชอบ คณิตศาสตร์
 สถานที่ที่ชอบ วัด
 อาชีพที่ใฝ่ฝัน คนออกแบบท่ารำ

นิสัยส่วนตัว     : อะไรก็ได้แต่จะไม่ค่อยพูดอะไรก่อน มองโลกในเเง่ดี
ติดต่อได้ทาง   : facebook : Pukkamint Print(ปุกก้ามิ้นท์)
                          Line         : Pukkamint
                          IG            :Pukkamint

ระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีเพื่อการตัดสินใจ

ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ


1. ระบบสารสนเทศ
    ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ระบบที่สามารถจัดการข้อมูลตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล รวมถึงการดูแลรักษาข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องและทันต่อความต้องการใช้ของผู้ใช้ และผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ



    1.1 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
         องค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่สำคัญมี 5 องค์ประกอบดังนี้
        
           1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 
            ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 3 หน่วย คือ
      -หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
      -หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
      -หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์

         2. ซอฟต์แวร์ (Software)
          ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
           1.ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ ประมวลผลข้อมูล แสดงผลทางจอภาพ เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ โปรแกรมแปลภาษาและโปรแกรมอรรถประโยชน์
          2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ ซอฟต์แวร์ตารางงาน ซอฟต์แวร์ด้านกราฟิก เป็นต้น

         3. ข้อมูล (Data)
             ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพข้อมูลที่ดีซึ่งเหมาะแก่การนำไปใช้งานจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
     ♥ ถูกต้องและสมเหตุสมผล
     ♥ ทันสมัย
     ♥ สมบูรณ์
     ♥ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
     ♥ สามารถพิสูจน์ได้

         4. บุคลากร (People)
             บุคลากร คือผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศตั้งแต่การพัฒนาระบบจนกระทั่งการใช้งานและการบำรุงรักษา ซึ่งบุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ต้องมีความรู้ความสามรถในการใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีคุณภาพ 


         5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure)
           ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน


    1.2 ชนิดของระบบสารสนเทศ
องค์กรส่วนใหญ่จะใช้ระบบสารสนเทศในการทำงาน โดยแต่ละองค์กรจะเลือกใช้ระบบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งระบบสารสนเทศแบ่งเป็น5ชนิด ดังนี้



         1. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System : OIS)
หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติเป็นระบบที่ใช้ในการผลิตสารสนเทศของสำนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ แลัเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรสาร เป็นต้น รวมถึง ซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลคำ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์เสียง ระบบประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น

         2. ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการ (Transaction Processing System : TPS)
หรือระบบประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing : EDP) เป็นระบบสารสนเทศที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้บันทึกข้อมูลรายการที่เกิดขึ้นประจำวันของส่วนใดส่วนหนึ่งของธุรกิจนั้นๆ ซึ่งข้อมูลรายการที่เกิดขึ้นประจำวันดังกล่าวจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการนำไปประมวลผลเป็นสารสนเทศสำคัญของระบบสารสนเทศอื่นๆ 

         3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS)
เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลรายการที่เกิดขึ้นประจำวันจากระบบสารสนเทศประมวลผลรายการจากแผนกต่างๆ มาสรุปเป็นรายงานสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการ ได้แก่ การควบคุมหรือตรวจสอบการดำเนินงาน การวางแผน และการตัดสินใจดำเนินงาน 

         4. ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาความสามารถเพื่อมเติมจากระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโดยจะสนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน ซึ่งจะให้ระบบจะใช้ตัวแบบ (model) ในการวางแผน ทำนาย และสรุปทางเลือกสำหรับการตัดสินใจได้หลายๆทาง สำหรับผู้บริหารตัดสินใจได้สะดวกรวดเร็ว โดยผู้บริหารต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ระบบเสนอแนะมาด้วยตนเอง

         5. ระบบสารสนเทศสนับสนุนผู้บริหาร (Executive Information System : EIS)
เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นเพื่อการสนับสนุนสารทนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยระบบจะประมวลผลสารสนเทศให้ผู้บริหารมองเห็นภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทประกอบกับผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่มีข้อจำกัดด้วนระบบเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล ดังนั้นส่วนใหญ่สารสนเทศจะอยู่ในรูปแบบของกราฟฟิกที่ดูเข้าใจง่าย เช่น กราฟ ตาราง ภาพ สามมิติ เป็นต้น รวมทั้งการนำเสนอสารสนเทศขององค์กรโดยสรุป และสามารถเรียกดูลึกเข้าไปในรายละเอียดที่ต้องการได้ ซึ่งระบบสารสนเทศสนับสนุนผู้บริหารจำเป็นต้องใช้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร 




2. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
    โดยระดับของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในองค์กรมีอยู่ 3 ระดับ ดังนี้
  
    2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินของบุคคล

       1. ระบบสารสนเทศสำนักงาน เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและเครื่องใช้สำนักงาน เช่น Microsoft word พิมพ์เอกสาร Microsoft power point นำเสนองาน เป็นต้น
       2. ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการ เพื่อบันทึกข้อมูลประจำวัน เช่น ใช้ซอฟต์แวร์การขายสินค้าในการบันทึก ปรับปรุง ลบ และค้นหารายการสินค้า ซึ่งช่วยให้การทำงานสะดวกและรวดเร็วขึ้น เป็นต้น

    2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของกลุ่ม
เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สมารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีหลักการ คือ การนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระยะใกล้ หรือระยะไกล ทำให้มีการใช้ทรัพยากร ในระบบเครือข่ายร่วมกันได้

    2.3 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจขององค์กร
เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเชื่อมโยงระบบวสรสนเทศของแผนกต่างๆ ในองค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อส่งผ่านข้อมูลจากแผนกหนึ่งไปยังแผนกหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการบริหารงานของผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อประกอบการตัดสินใจ 
หลักการ คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ของแผนกต่างๆ มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน เช่น แผนกการตลาด แผนกการผลิต แผนกจัดซื้อ แผนกบุคคล แผนกการเงินและบัญชีเป็นต้น



สรุป 
ระบบสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น องค์กรต่างๆใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ประมวลผลข้อมูล รวมถึงการดูแลรักษาข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องและทันต่อความต้องการของผู้ใช้ และผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแต่ละองค์กรจะเลือกใช้ระบบสารสนเทศใดนั้นจะต้องคำนึงถึงความต้องการใช้งาน ความเหมาะสมกับธุรกิจ รวมถึงต้นทุนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ